Practical Power BI with DAX

อย่างที่ทราบกันดีว่าใน Power BI ผู้ใช้สามารถสร้าง Calculated Measures, Calculated Columns และ Calculated Tables ขึ้นมาใหม่ได้ด้วยการใช้ ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่เรียกว่า Data Analysis Expression หรือ DAX โดยในการอบรมนี้เนื้อหาที่อบรมจะเป็นการนำ DAX Function ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้กับงานจริง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่เรียนรู้ Definition ของ DAX Function เท่านั้น แต่จะมีการประยุกต์ใช้ DAX ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

  • การทำ Aggregating and Comparing over Time
  • การหา Year-to-Date, Quarter-to-Date และ Month-to-Date
  • การใช้งาน Semi-Additive Function
  • การใช้งาน Cumulative Total เพื่อหาค่าสะสมโดยไม่สนใจช่วงเวลา
  • ประยุกต์การใช้งานด้วย Parameter Table
  • การจัดกลุ่มข้อมูลหรือ Segmentation
  • การจัดการ Budget/Target Allocation
  • การจัดการ Dynamic Row Level Securities (RLS) เป็นต้น

วัตถุประสงค์

  1. ผู้อบรมสามารถนำ DAX ไปประยุกต์ใช้งานบน Power BI ได้
  2. ผู้อบรมสามารถนำรูปแบบการคำนวณไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหมาะสำหรับ

  1. ผู้ใช้งาน Power BI ได้เบื้องต้น
  2. ผู้ที่ต้องการนำ DAX ไปประยุกต์ใช้กับงานจริง
  3. ผู้ที่ต้องการใช้งาน Power BI ในลักษณะ Advanced มากขึ้น

พื้นฐานผู้เข้าอบรม

  • สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
  • สามารถใช้งาน Microsoft Power BI Desktop ได้เบื้องต้น
  • มีพื้นฐานในการใช้งาน Microsoft Excel
  • ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Team หรือ Webex

หัวข้อการฝึกอบรม

บทที่ 1: DAX Definition เป็นการเรียนรู้พื้นฐานต่าง ๆ ของ DAX และ Function ที่ใช้งานบ่อยเพื่อที่จะนำ Function ต่าง ๆ เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้งานในแต่ละเรื่องตามเนื้อหาในบทถัดไป เนื้อหาที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

  • ทำความรู้จัก DAX Function
  • ทำความเข้าใจ Data Model ใน Power BI
  • เข้าใจพื้นฐาน DAX Syntax
  • รู้จักการใช้งาน Condition Statement ต่าง ๆ
  • การใช้งาน Variable ใน DAX Expression
  • เรียนรู้ DAX Function ที่มักใช้งานบ่อย
    1. SUM และ SUMX
    2. COUNT, COUNTX, DISTINCTCOUNT และ COUNTROWS
    3. CALCULATE และ CALCULATETABLE
    4. FILTER, ALL และ ALLSELECTED
    5. RANK และ TOPN
    6. EARLIER, MAX และ MIN
    7. SUMMARIZE
    8. RELATED และ RELATEDTABLE
    9. ISFILTERED และ CROSSFILTER
    10. HASONRVALUE และ SELECTEDVALUE
    11. CONTAINS

บทที่ 2: การนำ Time Intelligence Function ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้งาน

  • ทำความรู้จัก Time Intelligence Function
  • รู้จักการทำ Aggregating and Comparing over Time
    1. รู้จักการหา Year-to-Date, Quarter-to-Date และ Month-to-Date ด้วย Time Intelligence Function แบบต่าง ๆ
    2. การหาค่า Aggregate ในกรณีที่เป็นปีงบประมาณหรือ Fiscal Year
    3. การหาค่าจาก Previous Period ต่าง ๆ เช่น ต้องการหาค่ายอดขายของเดือนที่แล้ว
  • รู้จักการทำ Semi-Additive Measure สำหรับ Measurement บางประเภทไม่สามารถที่จะทำการหาค่าผลรวมหรือ Aggregate ตามมุมมองหรือ Dimension ใด ๆ ได้ เช่นค่าคงเหลือของสินค้าคงคลัง ไม่สามารถหาค่าคงเหลือในแต่ละเดือนได้จากการหาผลรวมจากรายการทั้งเดือนได้ แต่จะเป็นค่าคงเหลือ ณ. เวลาใดเท่านั้น

บทที่ 3: การหา Cumulative Total เพื่อไปประยุกต์กับงานสินค้าคงคลังหรือ Inventory

  • รู้จักรูปแบบพื้นฐานหรือ Basic Pattern ของการหาค่าสะสม
  • การใช้งาน Cumulative Total เพื่อหาค่าสะสม
  • ใช้ DAX Function ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้งานกับเรื่องสินค้าคงคลังหรือ Inventory เพื่อทำการประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง (Inventory Valuation)

บทที่ 4: รู้จักการใช้งานในลักษณะ Parameter Table เพื่อไปประยุกต์ให้ผู้ใช้รายงานทำงานได้สะดวกหรือคล่องตัวมากขึ้น

  • มารู้จัก Parameter Table
  • ประยุกต์การใช้รายงานโดยให้ผู้ใช้สามารถเลือกแสดงหน่วยของข้อมูลได้ตามความด้องการของผู้ใช้งานด้วย Single Parameter Table
  • ประยุกต์การใช้งานด้วย Parameter Table มากกว่า 1 ตารางในการทำ What-If Analysis เช่นถ้าหากมีการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณขั้นต่ำเท่ากับ X ชิ้นแล้วจะให้ส่วนลดเป็น Y% ส่วนรายการใดที่สั่งซื้อน้อยกว่า X ชิ้นจะไม่ได้ส่วนลด สุดท้ายแล้วมูลค่ายอดขายจะเป็นเท่าไร?
  • ประยุกต์ในเรื่อง What-If Analysis ด้วยการใช้เมนู Parameter What-If ใน Power BI Desktop
  • เพิ่มความสะดวกหรือคล่องตัวให้กับผู้ใช้ในการแสดงค่าหรือ Measurement ที่ต้องการแสดงในรายงาน โดยการใช้ Parameter Table เพื่อสร้างเป็น Measures Table ให้ผู้ใช้เลือกตามความต้องการ
  • ประยุกต์การใช้งานแบบเลือกแสดงผล Top (N) ของข้อมูลเช่น ต้องการแสดง Top 10 ของสินค้าที่มีมูลค่ายอดขายสูงที่สุด เป็นต้น

บทที่ 5: การจัดกลุ่มข้อมูลหรือ Segmentation หรือ Classification เป็นการจัดกลุ่มของข้อมูลออกเป็นกลุ่มย่อยตามความต้องการเช่น จัดกลุ่มสินค้าตามราคาขาย, จัดกลุ่มลูกค้าตามมูลค่ายอดซื้อสินค้า หรือการจัดกลุ่มข้อมูลแบบ ABC Analysis เป็นต้น

  • รู้จักการจัดกลุ่มหรือ Segmentation แบบง่าย ๆ
  • ประยุกต์การจัดกลุ่มแบบเปลี่ยนแปลงได้เสมอ (Dynamic Segmentation) โดยการนำ DAX Function ที่เรียนมาใช้
  • ประยุกต์การจัดกลุ่มลูกค้าออกตามมูลค่ายอดซื้อสินค้าแบบเปลี่ยนแปลงได้เสมอ (Dynamic Group Customers by Sales Amount)
  • การแบ่งกลุ่มแบบ ABC Classification อย่างง่าย
  • ประยุกต์การแบ่งกลุ่มแบบ Dynamic ABC Classification

บทที่ 6: การจัดสรรงบประมาณหรือ Budget/Target Allocation

  • ทำความรู้จัก Budget/Target Assumption
  • ใช้ DAX Function มาประยุกต์ในการจัดสรรงบประมาณหรือเป้าหมาย (Budget/Target Allocation) โดยอ้างอิงตามข้อมูลในอดีต ที่มีอยู่มาเป็นตัวแปรในการจัดสรรงบประมาณหรือเป้าหมาย

บทที่ 7: ประยุกต์ใช้ DAX ในการจัดการเรื่องการจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ในระดับแถวของข้อมูล (Row Level Security - RLS)

  • ทําความเข้าใจพื้นฐานของ Row Level Security (RLS)
  • ประยุกต์ใช้ DAX ในการทำ RLS ให้เป็น Dynamic RLS

วิทยากร

  • ชวลิต ภู่สิทธิกุล BI Consultant & Specialist/แอดมินเพจ Thai Power BI User Group

ลักษณะการอบรม

  • อบรมออนไลน์ผ่าน Webex Cisco Webex Meetings
  • ไม่เกิน 5 ท่าน/คลาส

ค่าลงทะเบียน

  • ราคา 9,630 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ได้
  • ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับหนังสือประกอบการอบรม รวมทั้งสูตรการคำนวณทั้งหมด

  • ชำระเงินพร้อมส่งสลิปการชำระกลับมาที่ chawalit@asc.co.th หรือ inbox ที่ http://www.facebook.com/ascbi

การลงทะเบียน